VOL. 07

ANGELO สถาปัตย์กัลยาณมิตร

ANGELO ARCHITECTURE THERAPY

ANGELO is Not Average Place

ANGELO is The Leverage Place

“Neuroarchitecture สถาปัตยกรรมมีผลต่อสมอง”

สถาปัตยกรรมมีผลต่อกระบวนการทำงานของสมองระบบประสาทและจิตใจมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ การออกแบบอาจไม่ใช่เพียงตอบสนองการใช้สอยกายภาพ แต่มุ่งยกระดับสุขภาพจิตให้ดีขึ้นด้วย แนวคิดนี้ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง

แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในสังคมไทย : งานวิจัย ดร. Oshin Vartanian

 

ความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมที่รื่นรมย์ สุนทรียภูมิทัศน์

โดยคุณอริยพงษ์ วงศ์วริศรา นักออกแบบ เจ้าของ ศิลปิน

อาคารสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2534 ดั้งเดิมเป็นบ้าน “สถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์”

เป็นหนึ่งใน Influential House ด้านสถาปัตยกรรม และการออกแบบบ้าน อยู่ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

 

อาคารมีการ Renovated ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

เป็นหนึ่งใน Influential House ด้านสถาปัตยกรรมที่มีการ Renovated ให้เป็นโรงแรม (เฉพาะตัว) ขนาดเล็ก

The Boutique Independent Private Artist House (Hotel)

For

The Independently Mined Guests

เพื่อมอบประสบการณ์ชม Element สถาปัตยกรรมแด่นักเดินทางทั่วโลก

อ้างอิงในลักษณะ By The Book เป็น “สถาปัตยกรรมสไตล์สเปนนิชโคโลเนียล”

การ Renovated ยังคงความเดิมเป็นบ้านอยู่อาศัย ยังคงปรากฏให้เห็นรสชาติชีวิตรสชาติความเป็นอยู่ของครอบครัวเจ้าของ รสรื่นรมย์ รสรื่นร่ม สงบอย่างสง่างาม เต็มไปด้วยพลังความสร้างสรรค์ แสงและเงาของแรงบันดาลใจ รายละเอียดการตกแต่งมีความเป็นตัวของตัวเอง การตกแต่งภายในสะท้อนให้เห็นถึงพื้นเพจิตใจที่มีความสุขในการลุ่มหลงศิลปะและบ้านอันเป็นที่รักของครอบครัวเจ้าของเอง และยังคงปรากฏวิถีชีวิต ยังคงปรากฏวิถีกิจการดั้งเดิมของครอบครัวเจ้าของ ANGELO TILES แบรนด์กระเบื้องศิลป์ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา

 

หมายเหตุ (บางตัวอย่างจากงานวิจัย) 

  • พื้นที่เพดานสูงจะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสสรค์และกิจกรรมทางด้านศิลปะได้ดี

    พื้นที่เพดานต่ำจะส่งผลให้เกิดสมาธิและการทำงานปกติที่ค่อนข้างซ้ำซาก

  • สีเขียวจะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดความเครียด

    สีแดงจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และความสนใจมาขึ้น

เป็นความรูทางประสาทวิทยาเข้ามาอธิบายพื้นที่ในสมองและระบบการทำงานของสมอง ที่มีผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ อันมา สอดคล้องกับ วัฒนธรรม และประสบการณ์ของแต่ละคน เพื่อตอบ ความงามในสายตาของคน และอรรถประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ทั้งการ ลดความเครียด เพิ่มผลิตผลในการทำงาน เพิ่มการเรียนรู้ช่วยสร้างสรรค์ความคิด และรวมถงึการสร้างเสริม ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ที่อยู่อาศัย

งานวิจัย ภาพสะท้อนเล็กๆ ของกระแสแนวคิดใหญ่กระแสหนึ่งที่กำลังเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงกระบวนทัศน์ครั้งสำคัญต่อวงการออกแบบสถาปัตยกรรม ผังเมือง ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องรอบตัวมนุษย์ นั่นก็คือ Neuroarchitecture

สถาปัตยกรรมมีผลต่อสมอง Neuroarchitecture เป็นแนวคิดที่อาจสืบย้อนกลับไปได้ถึงราวทศวรรษ 2510 แต่พัฒนาการอย่างก้าวกระโดดในฐานะศาสตร์เฉพาะทางนั้นเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 นี้ทั้งสิ้น โดยปัจจุบันกระแสนี้เริ่มได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในสังคมไทย

โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลกระทบทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อกระบวนการทำงานของสมอง ระบบประสาทและจิตใจมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ และนำผลการศึกษาที่ได้ย้อนกลับไปใช้ในการออกแบบที่ตอบสนองไม่ใช่เพียงการใช้สอยกายภาพแต่มุ่งยกระดับสุขภาพจิตให้ดีขึ้นด้วย

(งานวิจัย ดร. Oshin Vartanian)

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก … https://www.matichonweekly.com/special-report/article_396136